เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย
ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี
เขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้
เป็นอภิภายตนะที่ 5
6. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอกกรรณิกา
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือ
เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่เหลือง มี
สีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูป
สัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ 6
7. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบ
ด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบ
ด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ
ละเอียดทั้งสองด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด
บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอก
ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ 7
8. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบ
ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :72 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำ
รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ 8
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ 8 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอภิภายตนะ 8 ประการนี้ อภิภายตนะที่ 8 คือ บุคคล
หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นเลิศ
สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา
อย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายในอภิภายตนะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น ก็คลายกำหนัด
ในอภิภายตนะซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (5)

ปฏิปทา 4 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้
ปฏิปทา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
2. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว)
3. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
4. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา 4 ประการนี้ สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา นี้เป็นเลิศ สัตว์
ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอย่างนี้ก็ยังมีความแปร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :73 }